ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.)
ความหมายของ ก.ต.ป.น.
ก.ต.ป.น. ย่อมาจากคำว่า คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศ
การศึกษา
หมายถึง องค์คณะ บุคคลที่มีบทบาท อำนาจหน้าที่ ในการบริหารงานวิชาการในระดับเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการ ทั้งในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ ตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศติดตามตรวจสอบและประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมรับการนิเทศ ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอกซึ่งเป็นองค์คณะที่เป็นหนึ่งเดียวที่ยังเหลืออยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในขณะนี้
การตรวจสอบ (Inspection) หมายถึง การกำกับ ดูแล เพื่อปรับปรุงพัฒนาการบริหารการจัดการศึกษาและดำเนินไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตีค่าผลการบริหารการจัดการศึกษา และดำเนินไปตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
การนิเทศการศึกษา (Supervision) หมายถึง ความร่วมมือระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัด กับคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและ นิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อปรับปรุงพัฒนา
คณะกรรมการ ก.ต.ป.น. มีจำนวนเก้าคน ประกอบด้วย
(๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ จำนวนหนึ่งคน
(๓) กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน จำนวนหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์สูงในด้านการศึกษาปฐมวัย ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวิจัยและประเมินผล
ด้านการบริหารการศึกษา ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน
(๕) หัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.)
๑. ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากำหนดเป็นแนวทางในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
และนิเทศการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
๒. กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและ การดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
๓. พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
๔. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน ที่กำหนด
๕. รับทราบผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการบริหารและ การดำเนินการและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๖. ส่งเสริมให้มีการประสานการดำเนินการกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่ ก.ต.ป.น. ที่ได้แก้ไขตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ ส่วนที่ ๔ การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
การติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก ให้คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่ การศึกษา
(ก.ต.ป.น.) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการ กำหนด จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา ของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากำหนดเป็นแนวทาง ในการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการบริหารและ
การดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษา ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
(๒) กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การบริหารและการดำเนินการของหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลและนิเทศการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด
เขตพื้นที่การศึกษา
(๔) ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผนที่กำหนด
(๕) รับทราบผลการติดตาม ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา
คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๖) ส่งเสริมให้มีการประสานงานการติดตาม ประเมินผล และนิเทศการศึกษา กับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษาตามความจำเป็น
(๘) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย